ระบบจัดการในโรงพยาบาล
ถ้าพูดถึงโรงพยาบาล เราก็จะนึกถึงคนที่บาดเจ็บ หรือป่วย มาใช้บริการสถานที่แห่งนี้เป็นจำนวนมากในแต่ละวัน อาจจะมีมากถึงหลายพันคนในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ แต่ละวัน ทางโรงพยาบาลต่าง ๆ จึงต้องมีระบบจัดการข้อมูล เช่น ชื่อ - นามสกุล ประวัติส่วนตัว ประวัติการรักษา แน่นอนว่าทุกอย่างเป็นข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต่อโรงพยาบาล และผู้มารับการรักษา
สิ่งแรกที่เมื่อเราเข้าไปรับการรักษา เราจะได้กรอกข้อมูลเวชระเบียนของทางโรงพยาบาล เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวต่าง ๆ ในส่วนนี้ทางโรงพยาบาลจะนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่ระบบจัดเก็บข้อมูลของทางโรงพยาบาล และ จะทำบัตรผู้ป่วยให้กับผู้มารับการรักษาทุกราย ซึ่งจะเป็นบัตรที่มีแถบแม่เหล็กที่สามารถเก็บข้อมูลรหัสผู้ป่วยเอาไว้ และนำรหัสที่ได้มาเทียบกับฐานข้อมูลผู้ป่วยของทางโรงพยาบาล ผ่านเครื่องอ่านการ์ดแถบแม่เหล็ก
ต่อมา นอกจากการจัดการการยืนยันตัวผู้ป่วยด้วยบัตรแล้ว ตอนนี้มาถึงขั้นตอนการจัดการ การรักษากันบ้างซึ่งขั้นนี้จะมีการแยกผู้ป่วย ออกเป็นหลายทางเช่น อุบัติเหตุ สูติกรรม ตา หู คอ จมูก ผิวหนัง ซึ่งตรงนี้จะมีรายละเอียดมาก และเป็นความลับของทางโรงพยาบาลนั้น ๆ จะยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วย มีอาการเจ็บคอ เมื่อเราแสดงบัตรผู้ป่วยแล้ว ทางโรงพยาบาลก็จะนำข้อมูลการรักษาครั้งก่อนที่เราเคยมีออกมา และทำการนัดเวลาเข้าพบแพทย์ เมื่อถึงเวลาเราก้จะได้เข้าไปพบแพทย์ผู้ทำการรักษา แพทย์นั้นจะมีเวชระเบียนของเราที่ได้จากทางโรงพยาบาล เพราะเราได้ทำการแสดงบัตรและนัดเวลาไว้แล้ว จากนั้นแพทย์ก็จะวินิจฉัยโรค แล้วส่งข้อมูลการรักษาและยาที่ต้องการไปพร้อมกับใบเวชระเบียนนั้น ขั้นนี้ทางโรงพยาบาลก็จะนำข้อมูลเข้าระบบอีกครั้งเพื่อทำการสั่งยา เราก็จะไปรอรับตัวยาตามเวลาที่กำหนดให้มา
ตัวอย่างโปรแกรมระบบจัดการผู้ป่วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น