วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Firefox: ลบ History บางรายการแบบทันใจ

ตามปกติส่วนใหญ่ เวลาเราจะล้าง (clear) ประวัติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ (History) ให้หมดภายในคราวเดียวก็ทำได้ง่ายๆ แต่ถ้าคุณต้องการลบทิ้งเพียงบางรายการเท่านั้น จะต้องนั่งไล่ลบไปทีละรายการอย่างนั้นหรือ?

วันนี้เรามีวิธีเจ๋งๆที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน สำหรับผู้ใช้ Firefox มาฝากครับ

  1. เปิดบราวเซอร์ไฟร์ฟอกซ์ ขึ้นมาก่อน
  2. เลือก History > Show All History หรือเพียงกด Ctrl+Shift+H
  3. พิมพ์ชื่อเว็บที่ต้องการลบให้สิ้นซาก ในช่อง Search History



  4. จากนั้นจะปรากฎรายชื่อเว็บที่หาเจอ โผล่ขึ้นมามากมาย ให้เลือกมาซัก 1 รายการ แล้วคลิกขวาที่รายการนั้น แล้วคลิก Forget About This Site



  5. เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ...ง่ายมากๆๆ
ที่มา : www.arip.co.th

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปลุก Firefox ให้เริ่มทำงานเร็วขึ้นถึง 3 เท่า!!!

หายห่างว่างเว้นกันไปนานสำหรับทิปที่เกี่ยวข้องกับบราวเซอร์ Firefox วันนี้ก็ได้ฤกษ์งามยามดี ทางกองบ.ก.เว็บไซต์ arip ก็เลยถึอโอกาสแนะนำทิปเด็ดๆ และโปรแกรมดาวน์โหลดดีๆ ที่สำคัญต้องฟรี!!! มาฝากกันก่อนหยุดพักผ่อนสุดสัปดาห์ แม้ Firefox จะเป็นบราวเซอร์โอเพ่นซอร์สที่แรงได้ใจแล้ว ยังมีคนคิดทำฟรีแวร์มาช่วยปรับแต่งให้ Firefox ของคุณแรงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ชักสนแล้วใช่ไหมครับ


Firefox บราวเซอร์อันดับ 2 ที่วันนี้วิ่งไล่กวดตามหลัง IE8 อยู่ห่างๆ อย่างหวั่นๆ เพราะช่วงหลังเจ้าตัวก็โดน Chrome แย่งพื้นที่ตลาดไปพอสมควร กระนั้นก็ตาม สาวก"จิ้งจอกอัคคี"ก็ยังคงไม่ตีจากบราวเซอร์ตัวนี้ไปโดยง่าย ล่าสุด Mozilla ได้ออก Firefox 4.0 รุ่นทดสอบมายั่วน้ำลายกันแล้ว แถมยังสำเนาอินเตอร์เฟซของ Chrome มาแบบพิกเซลต่อพิกเซลอีกต่างหาก แต่เดี๋ยวก่อน...นี่เรากำลังจะพูดถึงเรื่องอะไรกันอยู่ล่ะเนี่ย

อ้อ...จำ ได้แล้ว ทิปเด็ดเคล็ดไม่ลับวันนี้ขอเสนอวิธีเพิ่มความเร็วในการทำงานของ Firefox โดยเฉพาะตอนเริ่มต้นเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่า มันคิดอ่านหารคูณอะไรนักหนากว่าจะเริ่มทำงานได้ ยิ่งนานวันมันกลับทำงานช้าลงเรื่อยๆ (คล้ายโอเอสบางตัว?) สาเหตุก็คือ Firefox จะมีการใช้ฐานข้อมูล SQLITE ในการจัดเก็บค่ากำหนด (setting) ต่างๆ มากมาย โดยเมื่อเวลาผ่านไปฐานข้อมูลดังกล่าวจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เทอะทะจนเกิดอาการอุ้ยอ้าย ตัวช่วยสำหรับงานนี้ก็คือ SpeedyFox ซึ่งจะเข้ามาจัดการกระชับขนาด (compact) ของฐานข้อมูลดังกล่าวให้เล็กลงโดยไม่มีการสูญเสียข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น ผลลัพธ์ทำให้การทำงานกับฐานข้อมูลดังกล่าวเร็วขึ้น อานิสงส์ที่ได้จึงทำให้การเปิดโปรแกรม Firefox เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงความเร็วในการทำงานส่วนอื่นๆ อย่างเช่น การเปิด History เพื่อไล่ท่องเน็ตในอดีต ตลอดจนการจัดการกับ cookies ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่มันให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจมากทีเดียว ประเด็นนี้จะไม่เหมือนกับการเล่นกล ด้วยอินเตอร์เฟซของบราวเซอร์ที่แค่ยกแท็บไปไว้บนสุด(แบบ chrome) แล้วตัดเฟอร์นิเจอร์รุงรังออกให้หมดผู้ใช้ก็รู้สึกได้ทันทีว่ามันเร็วขึ้น แล้ว :D


ที่มา : www.arip.co.th

วิธีการดาวน์โหลด Adobe Flash Player 10.1 แบบออฟไลน์ ไม่ต้องผ่าน DLM

สำหรับคนที่เล่นเกมส์บน Facebook ทุกคน คงจะอัพเกรดไปใช้ Adobe Flash Player 10.1 กันหมดแล้ว เพราะความเร็วที่เพิ่มขึ้นกับการใช้รีซอร์สที่ลดลง เช่น การใช้แบตเตอร์รี่ได้ยาวนานขึ้น แต่เนื่อง Adobe รีบออกมามาเพื่อลบคำสบประมาทมากเกินไป ก็เลยส่งผลให้มีบั๊กออกมามากมายไปด้วย


ซึ่งเวอร์ชันที่ออกมาแรกสุดของ 10.1 คือ 10.1.53.64 (คุณสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้ว่า Flash ที่คุณใช้อยู่นั้นเป็นเวอร์ชันอะไร ด้วยการเข้าไปที่ http://www.adobe.com/software/flash/about/) ดังนั้นเวอร์ชันใหม่ที่แก้บั๊กแล้วคือ 10.1.82.76 แล้ว ซึ่งเวอร์ชันใหม่นี้ Adobe จะบังคับให้คุณดาวน์โหลดผ่าน DLM หรือ Adobe Download Manager นั่นเอง ซึ่งก็ต้องเสียเวลารออีกนาน ถ้าไม่อยากรอก็ทำตามนี้ครับ แต่ต้องเตรียมบราวเซอร์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Internet Explorer ไม่ว่าจะเป็น Firefox, Mozilla, Netscape, Opera, Safari ก็ได้เอาไว้ด้วยนะครับ แค่โปรแกรมเดียวก็พอ ไม่ต้องโหลดมาทุกไฟล์ เพราะ Flash บนวินโดวส์นั้นทำงานอยู่สองแบบคือ แบบ Active X กับ ไม่ใช่ Active X

1. สมมติว่าจะเลือกโหลด Flash ของ Internet Explorer ซึ่งเป็นแบบ Active X ก็ต้องใช้ Firefox, Mozilla, Netscape, Opera, Safari ในทิปนี้จะใช้ Firefox เป็นตัวโหลดครับ โดยเข้าไปที่ http://get.adobe.com/flashplayer/otherversions/

2. ให้คุณเลือกระบบปฏิบัติการที่คุณใช้อยู่ แล้วคลิกที่ Continue

3. หลังจากนั้นให้คุณเลือกไปที่ Flash Player 10.1 for Windows Internet Explorer แล้วคลิก Agree and Install now

4. เท่านี้คุณก็สามารถดาวน์โหลด Adobe Flash Player แบบออฟไลน์ ไม่ต้องผ่าน Adobe Download Manager อีกต่อไป โดยที่ไฟล์ที่เราจะดาวน์โหลดก็คือ install_flash_player_ax.exe ครับ แต่เกิดโหลดแบบอัตโนมัติไม่ได้ ให้คลิกที่ Click Here ครับ

5. จากนั้นเราก็เข้าไปดูที่ http://www.adobe.com/software/flash/about/ ว่า Flash ในเครื่องอัพเดตแล้วหรือยัง

สำหรับ ในกรณีที่อยากดาวน์โหลดของ Firefox, Mozilla, Netscape, Opera, Safari ก็เปลี่ยนไปใช้ Internet Explorer แล้วทำตามขั้นตอนข้างบนครับ


ที่มา : www.arip.co.th

ค้นหา"ภาพคล้าย"ใน Google เจ๋งสุดๆ แค่คลิกเดียวก็ได้เลย!!

ผู้ใช้ต่างชื่นชอบอินเตอร์เฟซใหม่สำหรับการค้นหาภาพ (Image Search) ของกูเกิ้ล (Google) ซึ่งนอกจากจะสะดวกกว่าเดิมแล้ว มันยังมีการโยกย้ายฟังก์ชันการใช้งานบางอย่างที่ต้องสังเกตจึงจะเห็นด้วย นั่นก็คือ การค้นหาภาพเหมือนคล้ายใกล้เคียง (Similar) โดยในอินเตอร์เฟซใหม่คุณสามารถค้นหาภาพใกล้เคียงภาพต่างๆ ได้ภายในคลิกเดียว

สำหรับการค้นหาภาพคล้ายของ Google ภายใต้อินเตอร์เฟซใหม่นี้จะสังเกตได้จากเวลาที่เลื่อนเมาส์ไปบนภาพใดๆ ซึ่งปกติ Google จะขยายภาพนั้นขึ้นมาประมาณเท่าตัว โดยพื้นที่ด้านล่างจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อไฟล์ ขนาดภาพ ตลอดจนรายละเอียดสั้นๆ ของภาพรวมถึงเว็บไซต์เจ้าของภาพนั้นๆ แต่หากคุณสังเกตอีกนิดหนึ่ง บรรทัดสุดท้ายจะมีลิงค์ที่เขียนว่า Similar แม่นแล้ว หากคลิกที่ลิงค์นี้ Google ก็จะหาภาพที่คล้ายภาพที่เลือกขึ้นมาให้ทันที สมมติเสิร์ชหน้านางเอกสาวเกาหลีชื่อดังอย่าง Song Hye Kyo ผลลัพธ์จะได้ดังรูปข้างล่างนี้

จาก นั้นผมเลื่อนเมาส์ไปบนรูปธัมบ์เนลล์อันหนึ่ง รอสักครู่จนมันแสดงภาพใหญ่ขึ้นมาแล้วคลิกที่ลิงค์ Similar ด้านล่าง ผลลัพธ์ของภาพที่คล้ายกัน เช่น องค์ประกอบ ท่าทาง หรือเค้าหน้าที่คล้ายกันของนางเอกสาวคนนี้ก็จะปรากฎขึ้นมา อืม...ดาราเกาหลีนี่หน้าคล้ายกันไปหมดเลยนะเนี่ย :D

ใช้ค้นภาพอื่นๆ ที่คล้ายกัน ไม่จำเป็นต้องภาพหน้าคนก็ได้นะครับ อย่างเช่น ภาพโน้ตบุ๊คที่วางในลักษณะเดียวกัน หรือภาพสิ่งของอื่นๆ ที่คล้ายกันก็ได้ :D


ที่มา : www.arip.co.th

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการใช้งานโปรแกรม Photoshop ตอน "เปลี่ยนสีวัตถุ"

วันนี้จะมาแนะนำการใช้เครื่องมือใหม่แกะกล่อง ของ Adobe Photoshop CS ซึ่งก็เอาไว้ช่วยจัดการทางด้านสี โดยเหมาะกับ ผู้ที่ชื่นชอบการเปลี่ยนแปลงสีบนพื้นผิวรูปภาพด้วยสีที่ต้องการหรือเปลี่ยน สีเดิมเป็นสีใหม่ซะเลย ก็สามารถทำได้ง่ายๆด้วยเครื่องมือที่ชื่อ Color Replacement มาดูกันว่าใช้งานอย่างไง

ขั้นตอนที่ 1 :

เปิดโปรแกรม Adobe Photoshop CS ขึ้นมา จากนั้นก็ไปเปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการจะแก้ไขสีของรูปภาพขึ้นมา โดยการคลิ้กที่เมนูคำสั่ง File > Open... จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Open ให้คลิ้กเลือกโฟลเดอร์และเลือกรูปภาพที่ต้องการ เมื่อได้รูปภาพที่แล้วให้คลิ้กปุ่ม Open
ขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2 :

เมื่อแสดงรูปภาพที่ต้องการในหน้าต่างโปรแกรมแล้ว ให้ไปคลิ้กเลือกสีที่ต้องการจะแทนที่สีเดิม ในส่วน ฟอร์กราวนด์ จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Color Picker เพื่อคลิ้กเลือกเฉดสีที่ต้องการ เมื่อได้สีที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ให้ไปคลิ้กปุ่ม OK

ขั้นตอนที่ 3 :

ให้ไปคลิ้กที่เครื่องมือ Color Replacement Tool จากส่วน Tools ในส่วนนี้จะมีเครื่องมืออยู่ 3 ส่วนอาจแสดงส่วนใดส่วนหนึ่ง ได้แก่ Healing Brush Tool, Patch Tool, Color Replacement Tool
ขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 4 :

ก็มาถึงเวลาที่สำคัญในการแปลงโฉมมะเขือเทศของเราแล้ว โดยให้ใช้เครื่องมือ Color Replacement Tool ป้ายลงไปบนพื้นผิวของรูปภาพที่ต้องการ แต่หากเคอร์เซอร์เป็นรูปเครื่องหมายวงกลมแล้วมีขีดขวาง (Image-005.jpg) ต้องไปเปลี่ยนโหมดของรูปภาพให้เป็น RGB Color เสียก่อนโดยการคลิ้กเมนูคำสั่ง Image > Mode > RGB Color
ขั้นตอนที่ 5

ขั้นตอนที่ 5 :

ค่อยๆ ใช้เมาส์ละเลงสีไปเรื่อยๆ เมื่อใช้เมาส์ระบายหรือป้ายสีลงบนผลมะเขือเทศจนทั่วถึง เรียกว่าหาสีเดิมไม่เจอแล้ว คราวนี้ก็จะได้สีใหม่ของมะเขือเทศเป็นผลใหม่ไฉไลกว่าเดิมทันที อาจเมื่อยมือบ้างแต่ก็สนุกดีใช่มั้ยครับ

โอ๊ย! อะไรมันจะ easy ขนาดนี้! เป็นอย่างไงครับการแปลงโฉมมะเขือเทศให้กลายเป็นสดจากไร่ไปในทันใด อย่างไรก็อย่าลืมเก็บรายละเอียดให้หมดนะครับ เดี๋ยวเค้ารู้ว่าเราย้อมแมว ไม่ใช่สิ เดี๋ยวงานออกมาไม่สวยงามดั่งใจ แล้วพบกันใหม่กับเทคนิคการใช้งาน Adobe Photoshop CS สวัสดีครับ

ที่มา www.arip.co.th

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แฉแหลกคอมพิวเตอร์ ตอน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเมนบอร์ด

การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเมนบอร์ด
อาการเสียที่เกิดจากเมนบอร์ดนั้นเป็นปัญหาที่ค่อนข้างแก้ไขยาก และเกิดจากหลายสาเหตุ เนื่องจากมีอุปกรณ์หลายตัวเข้ามาติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ทำให้เมื่อเมนบอร์ดมีปัญหามักหาสาเหตุไม่ค่อยเจอ ส่วนใหญ่จะมองไปที่อุปกรณ์ตัวอื่นมากกว่า เพราะจะว่าไปแล้วโอกาสที่อาการเสียจะเกิดจากเมนบอร์ดนั้น มีค่อนข้างน้อยทำให้อาจนึกไม่ถึง
สำหรับอาการเสียของเมนบอร์ดจะคล้ายกับอาการเสียของอุปกรณ์ตัวอื่นที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด เช่นเครื่องบูตไม่ขึ้น , จอภาพมืด ส่วนใหญ่จะคิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดมาจากจอภาพและฮาร์ดดิสก์มากกว่า หรืออาการเครื่องแฮงค์บ่อย หลายคนมักวิเคราะห์ว่าน่าจะเกิดจากแรม หรือไม่ก็ ซีพียู แต่แท้จริงแล้ว หากเมนบอร์ดเสีย เครื่องก็ไม่สามารถบูตได้ หรือเกิดอาการแฮงค์บ่อยได้เหมือนกัน


แนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาเกิดจากเมนบอร์ดมีดังนี้
- ตรวจสอบการเชื่อมต่อของขั้วต่อต่าง ๆ บนเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แน่นและถูกต้อง เช่นขั้วต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์ , ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายกับกับเมนบอร์ด เป็นต้น
- ตรวจสอบการติดตั้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้ถูกต้อง เช่น แรม หรือการ์ดต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้แน่น
- ตรวจสอบการระบายความร้อนบนอุปกรณ์เมนบอร์ดเช่น พัดลมชิพเซ็ท พัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย หรือพัดลมเสริมตัวอื่น ๆ ว่ายังทำงานอยู่ดีหรือไม่
- ตรวจสอบการเซ็ตจัมเปอร์และดิปสวิตซ์บนเมนบอร์ดว่ากำหนดค่าต่าง ๆ ถูกต้องหรือ ส่วนมากมักจะเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ
- ตรวจสอบการกำหนดค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่
- ตรวจสอบถ่านแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดว่าหมดแล้วหรือยังถ้าหมดให้เปลี่ยนถ่านใหม่
- หากเมนบอร์ดถามหาพาสเวิร์ดแล้วจำไม่ได้ให้ทำการเคลียร์ไบออสโดยถอดจัมเปอร์ไปเสียบที่ขา Clear Bios (ดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบ) หรือจะถอดถ่านแบตเตอรี่ออกมาทิ้งไว้สักพักแล้วใส่เข่าไปใหม่ก็ได้
- ตรวจวสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาติดตั้งว่าเข้ากันได้กับเมนบอร์ดหรือไม่ บางครั้งหากผู้ใช้ซื้ออุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ มาเมนบอร์ดตัวเดิมจะไม่สามารถรองรับได้ ให้ทำการอัพเดทไบออสเพื่อให้เมนบอร์ดมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถรู้จักกับอุปกรณ์ ใหม่ ๆ ได้

หากได้ทำการตรวจสอบขั้นตอนเหล่านี้แล้วยังไม่พบปัญหาก็อาจเป็นไปได้ว่า เมนบอร์ดเสีย ให้เช็คดูว่ามีกระแสไฟลัดวงจร หรือเมนบอร์ดช๊อตหรือไม่ โดยตรวจสอบแท่นรองน็อตหรือมีวัตถุแปลกปลอมอย่างอื่นที่สามารถนำไฟฟ้าได้แอบแฝงอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ เมื่อผู้ใช้ได้ติดตั้งเมนบอร์ดแล้ว ลืมน๊อตตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดเมื่อมีกระแสไฟจ่ายเข้ามาก็อาจทำให้เมนบอร์ดพังได้ เพราะน๊อตตัวเล็ก ๆ จะเป็นตัวนำกระแสไฟได้เป็นอย่างดี

สรุป การที่จะรู้ว่าเมนบอร์ดของคุณเสียเปล่าต้องมีการทดสอบคือนำเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดสอบครับ ถ้าไม่มีคงจะต้องถึงมือช่างแล้วละครับ

จากหนังสือ เริ่มต้นเป็นช่างคอมพิวเตอร์ มืออาชีพ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แฉแหลกคอมพิวเตอร์ ตอน Error Code คืออะไร ???

Error Code คืออะไร ???

Error Code คืออะไร ??? บ่อยครั้งที่การใช้งานคอมพิวเตอร์อาจเกิดความผิดพลาดบางประการขึ้นมาซึ่ง แสดงเป็นรหัสความผิดพลาด หรือ Error Code แต่ผู้ใช้อย่างเราๆ กลับไม่ทราบว่ามันหมายถึงอะไร วันนี้เราจึงมีตัวอย่าง 49 Error Code มาฝากกัน

ถ้าคุณใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์อยู่เป็นประจำละก็ ผมเชื่อว่าต้องเคยพบกับรายงานความผิดพลาดอย่าง Error 126, STOP: 0x0000007B (0xF741B84C,0xC0000034,0x00000000,0x00000000) หรือไม่ก็ Error 0x800a0099 ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอ “บลูสกรีน”

หรือแม้แต่แสดงผ่านแมสเสจ บ็อกซ์ ของวินโดวส์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะแจ้งว่าเกิดอะไรขึ้น และแนะนำให้คุณแก้ปัญหาเบื้องต้นนี้อย่างไร แต่ผมเชื่อว่าน้อยคนนักที่จะสนใจและอ่านรายงานความผิดพลาดจนจบ เมื่อเจอกับข้อความ Error เข้า ส่วนใหญ่ก็จะไล่ปิดหน้าต่างหนีไปซะเลย ทำให้ปัญหาเหล่านั้นยังคงค้างคาอยู่ในเครื่อง และรอวันที่จะสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะส่วนของโปรแกรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ภายในเครื่องของคุณอีกด้วย ที่อาจจะเริ่มทำงานผิดปกติ แต่ผู้ใช้กลับไม่รู้ตัว เพราะมีเพียงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเท่านั้น ที่จะทราบถึงปัญหาความผิดปกติเล็กน้อยที่เริ่มก่อตัวขึ้น ดังนั้น ถ้าวันใดที่คุณพบ Error Code หรือรายงานความผิดพลาดแจ้งขึ้นมาอีก แนะนำให้ทำความเข้าใจกับมันก่อน คุณอาจจะจดเอาไว้ในกระดาษ แล้วค่อยไปค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ทีหลัง

Error Code ไม่หน้ากลัวอย่างที่คิด
การคิดไปล่วงหน้าเองว่า ตัวคุณจะรับมือกับความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนคอมพิวเตอร์ และวินโดวส์โดยลำพังไม่ไหวนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นการยอมแพ้อะไรง่ายๆ ไปซักนิด เพราะถ้าคุณยังไม่ได้ลงมือทำ หรือแก้ปัญหาด้วยตนเองก็จะไม่รู้เลยว่า ทุกปัญหานั้นยังพอมีทางแก้ไข ถึงแม้บางทีจะไม่ได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ตามแต่อย่างน้อยมันก็ทำให้คุณรักษาข้อมูลสำคัญเอาไว้ได้เช่นกัน

เมื่อวินโดวส์หรัสความผิดพลาดอย่าง Error Code หรือ Error Message ต่างๆขึ้นมาอย่าเพิ่งตกใจชัตดาวน์เครื่องแล้วหนีปัญหาไปนะครับ ถ้าเป็นหน้าจอบลูสกรีน แล้วมีตัวหนังสือเยอะๆ หรือตัวเลขฐาน 16 ที่คุณไม่รู้ความหมายนั้น ให้อ่านข้อมูลคร่าวๆ ที่เป็นการแจ้งความผิดพลาดก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นให้จด Error Code หรืออาจจะเป็น Error Message ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอลงในกระดาษ คุณอาจใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพเอาไว้ เพื่อเก็บรายระเอียดต่างๆ ให้หมด การค้นหาคำตอบหรือความหมายของรหัสความผิดพลาดเหล่านั้นให้เริ่มต้นจาก Help ของวินโดวส์ก่อน ถ้าไม่พบข้อมูลที่ต้องการก็ให้ค้นหาจากเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูล เว็บไดเรกทอรีต่างๆโดยเฉพาะที่เว็บ http://support.microsoft.com นั้น เป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี ที่ควรเข้าไปใช้บริการบ่อยๆ เพราะเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยตรง แต่บางที การค้นหาเอาตามเว็บบอร์ดไอทีต่างๆ อาจได้คำตอบเร็วกว่าที่คิด เพราะมีคนเข้าออกและผ่านเข้ามาตอบปัญหาให้เป็นจำนวนมาก ซึ่งผมคนหนึ่งละครับ ที่มักจะขอความช่วยเหลือจากที่นี่

และหลังจากที่ทุกคนได้อ่านบทความ ณ ที่นี้จนจบแล้ว เชื่อว่าพวกคุณพร้อมแล้วกับการพิชิตปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง

ข้อมูลจาก : Action (Computer.Today)

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แฉแหลกคอมพิวเตอร์ ตอน รู้จักกับ Blue Screen of Death

รู้จักกับ Blue Screen of Death
"จอฟ้ามรณะ" "มฤตยูจอฟ้า" หรือ "จอฟ้าแห่งความตาย" ไม่ว่าใครจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ Blue Screen of Death คือสิ่งที่ผู้ใช้พีซีไม่อยากเจอะเจอมากที่สุด เพราะถ้ามันปรากฏขึ้นเมื่อใด ย่อมหมายถึงได้เวลาที่คุณต้องล้างระบบ ติดตั้งวินโดวส์ใหม่กันแล้ว แต่ในความเป็นจริง จอฟ้ามรณะนี่มันน่ากลัวขนาดนั้นเลยหรือ?
Blue Screen of Death คืออะไร?
เชื่อแน่ๆ ว่าผู้ใช้พีซีไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก๋า น่าจะเจออาการแบบรูปที่ 1 กันบ้าง ไม่มากก็น้อย

แต่ปฏิกิริยาที่เจออาจจะแตกต่างกัน ถ้าเป็นมือเก๋า ก็แค่ร้อง "ว้าเว้ย!!" แล้วก็หาทางแก้กันไป หน้าจอเดียวกันนี้ ถ้าเป็นมือใหม่หัดใช้คอมพ์ อาจถึงกับลนลานรีบต่อสายตรงที่ช่างซ่อมคอมพ์ทันทีเลยทีเดียว แต่ช้าก่อนครับ!!?? ถ้าคุณได้อ่านบทความเรื่องนี้ อาจช่วยลดอาการลนลานได้บ้าง และถ้าคุณร้าสาเหตุที่มาที่ไปของอาการนี้คุณอาจช่วยเหลือตัวเองได้บ้างโดย ไม่ต้องง้อช่างเลย
ทีนี้มาถึงคำตอบของคำถามที่ผมตั้งเป็นหัวข้อไว้ Blue Screen of Death ( ต่อไปขอย่อว่า BOD นะครับ) อธิบายง่ายๆ ก็คือ หน้าจอที่แสดงอาการผิดปกติของวินโดวส์ ซึ่งอาการที่เกิดได้ก็มาจากหลายๆ สาเหตุ ทั้งเกิดจากซอฟต์แวร์ก็ได้ หรือฮาร์ดแวร์ก็ได้ หรือเกิดพร้อมๆ กันเลยก็มี เหตุที่ตั้งชื่อให้มันน่ากลัวขนาดนั้น ก็เพราะถ้าหน้าจอสีฟ้านี้แสดงขึ้นมา มันหมายความว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ค่อนข้างหนักหนาจนวินโดวส์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ นอกจากรีเซ็ตเครื่องเพียงอย่างเดียว

ในบางกรณี การรีเซ็ตเครื่องหลังจากขึ้นบลูสกรีน ก็สามารถใช้งานเครื่องพีซีต่อได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะหมดไป วันดีคืนดี หน้าจอมรณะก็อาจจะกลับมาหลอกหลอนได้อีก เพราะสาเหตุของปัญหายังไม่ได้ถูกขจัด ถามว่าทำไมบลูสกรีนอยู่ๆ ก็เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งๆทีใช้งานมาตั้งนานยังไม่เคยมีปัญหาแบบนี้? คำตอบของปัญหานี้จะไปโทษระบบปฏิบัติการเพียงอย่างเดียวก็คงจะไม่ได้ อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าการทำงานของเครื่องพีซีต้องประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นหลัก ฮาร์ดแวร์ถ้าไม่ซอฟต์แวร์ควบคุมจัดการก็ไม่ต่างอะไรกับเศษเหล็ก ในทางกลับกันถ้าซอฟต์แวร์ไม่มีอะไรให้จัดการก็ไม่ต่างอะไรจากโค้ดดิ้งไร้สาระหลายหมื่นบรรทัด และในเมื่อทั้งสองอย่างต้องทำงานร่วมกัน ความเข้ากันได้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

มาถึงตรงนี้อาจจะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมหน้าจอมรณะถึงพบบ่อยได้นักในระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ทุกยุค ทุกสมัย นั่นก็เพราะ วินโดวส์เป็นระบบปฏิบัติการที่จำเป็นต้องออกแบบให้ใช้กับเครื่องพีซีและ อุปกรณ์ รอบข้างให้ได้หลากหลายที่สุดเท่าที่จะทำได้ แตกต่างจากระบบยูนิกซ์หรือ แมคโอเอส ที่ออกแบบมาเพื่อเครื่องยูนิกซ์หรือแอปเปิ้ลเพียงอย่างเดียว ลองนึกดูง่ายๆ แค่เมนบอร์ดที่ใช้กับเครื่องพีซีก็มีกี่ยี่ห้อ กี่รุ่น เข้าไปแล้ว ยังไม่นับกราฟิกการ์ด ซาวด์การ์ด โมเด็ม ฯลฯ และอีกสารพัดอุปกรณ์ที่ต้องนำมาเชื่อมต่อ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ถ้าเกิดปัญหาเรื่องความไม่เข้ากันเมื่อไหร่จอฟ้ามรณะก็บังเกิดขึ้น ครับ

ความจริงวินโดวส์เองก็มีข้อบังคับเรื่องของฮาร์ดแวร์คอมแพตทิเบิลอยู่ รายระเอียดของเรื่องนี้อยู่ที่ http://www.microsoft.com/resources/documentation/windows/xp/all/proddocs/en-us/hsc_compat_overview.mspx ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชิ้นถ้าผ่านการรับรองจากไมโครซอฟต์ แล้ว จะมีโลโก้แสดงว่าวินโดวส์ คอมแพตทิเบิลอยู่ แต่สมัยนี้อุปกรณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย บางตัวก็ติดโลโก้วินโดวส์คอมแพตทิเบิลมาด้วย แต่ผู้ใช้ก็ไม่มีทางรู้ว่าจริงหรือไม่ ยังไม่นับซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ร้อยพ่อพันแม่พัฒนากันออกมา ดังนั้นในความเป็นจริง ผู้ใช้จึงไม่สามารถใช้อุปกรณ์ที่เป็นคอมแพตทิเบิลร่วมกันได้ทั้งหมดได้

ที่เล่ามาทั้งหมด ขอออกตัวว่าผมไม่ได้แก้ต่างให้ไมโครซอฟท์แต่อย่างใด แค่อยากจะชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาบลูสกรีนที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้า ตราบใดที่เรายังใช้วินโดวส์ที่ยังคงรันอยู่พีซีที่ภายในมีอุปกรณ์ติดตั้งไม่ซ้ำยี่ห้อกันเลยแม้แต่ยี่ห้อเดียว

ในวินโดวส์ NT, 2000 และ XP นั้น BOD ที่เกิดขึ้น มักเกิดมาจากเคอร์แนลหรือไดรเวอร์ ที่เกิดทำงานผิดพลาดโดยที่ไม่สามารถจะคืนสภาพการทำงานให้กลับมาเหมือนเดิมได้ เช่น ไดรเวอร์ส่งค่าบางอย่างที่ไม่ถูกต้องไปยังกระบวนการอื่นๆ ทำให่ตัวระบบปฏิบัติการทำงานผิดพลาด วิธีเดียวที่ผู้ใช้จะแก้ไขได้ คือ รีบูตเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งนั่นหมายความว่า ข้อมูลหรืองานที่คุณกำลังทำอยู่มีโอกาสที่จะหายไปด้วยเพราะวินโดวส์ไม่ได้ถูกสั่งปิดแบบปกติ
การพิจารณาแก้ปัญหา BOD ดูได้จากข้อความที่แสดงและเออเรอร์โค้ด บางปัญหาวินโดวส์จะแสดงข้อความที่เป็นสาเหตุอย่างชัดเจน แต่บางปัญหาก็ไม่สามารถอาศัยข้อความที่แสดงเพียงอย่างเดียว ต้องนำเอาเออเรอร์โค้ดมาร่วมพิจารณาด้วย ตำแหน่งของข้อความและเออเรอร์โค้ด

เครดิต : bcoms.net

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แฉแหลกคอมพิวเตอร์ ตอน 6 รหัสอันตรายที่ทำให้เครื่องคุณไม่มีเสียง

6 รหัสอันตรายที่ทำให้เครื่องคุณไม่มีเสียง
  • ข้อผิดพลาด “ MMSystem263. This is not a registered MCI device -
  • ข้อผิดพลาด “MIDI output error detected.”
  • ข้อผิดพลาด “WAV sound playback error detected”
  • ข้อผิดพลาด “No wave device that can play files in the current format is installed.” -
  • ข้อผิดพลาด “ You audio hardware connot play files like the current file.” -
  • ข้อผิดพลาด “MMSYSTEM296. The file cannot be played on the specified MCI device.”
หากว่าใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ดี ๆ ปรากฏว่าอยู่ ๆ ก็มีข้อความเหล่านี้ขึ้นมาก็ให้ทำใจได้เลยว่า ตอนนี้กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับเสี่ยงวินโดวส์โดยอุปกรณ์ 1 ใน 2 อย่างนี้เป็นตัวก่อปัญหาขึ้นมา Wave Audio device, CD Audio device ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นก็มีดังนี้ ตรวจสอบว่าการ์ดเสียงของคุณเปิดใช้งานหรือยัง
  1. คลิกขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือกคำสั่ง Properties
  2. คลิกไปที่แท็ป Device Manager
  3. คลิกเครื่องหมาย (+) ที่ตัวเลือก Sound, Video and Game Controllers
  4. ดับเบิ้ลคลิกที่การ์ดเสียง
  5. แล้วตรวจสอบว่าที่ตัวเลือก Disable in this hardware profile มีเครื่องหมายถูกอยู่หรือเปล่า ถ้ามีเครื่องหมายถูกหน้าตัว Disable in this hard ware profile อยู่ก็ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือกนี้ออก
  6. คลิกปุ่ม OK 2 ครั้ง แล้ววินโดวส์จะถามว่าต้องการที่บูตเครื่องใหม่หรือไม่ ก็ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาก็ลองตรวจดูว่ามีเสียงออกมาหรือยัง
ตรวจสอบว่าการ์ดเสียงได้รับเลือกให้เป็นอุปกรณ์ที่ต้องการแล้วหรือยัง
เข้าไปไหนส่วน Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sound and Multimedia เลือกที่แท็บ Audio ในส่วนของ Sound Playback และ Sound Recording ให้ตรวจสอบว่าเลือกการ์ดเสียงในกล่อง Preferred device แล้วหรือยัง ถ้ามีการเลือก (None) หรืออุปกรณ์อื่นในกล่อง preferred device ก็ให้เลือกเป็นรุ่นการ์ดเสียงที่ใช้แทน คลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า

ตรวจสอบว่า วินโดวส์ได้กำหนดค่าให้ใช้คุณลักษณะเสียงของการ์ดเสียงแล้วหรือยัง

เข้าไปในส่วน Multimedia ที่ Control Panel แล้วคลิกที่แท็บ Devices คลิกเครื่องหมาย + หน้าตัวเลือก Audio Devices ดับเบิ้ลคลิกที่การ์ดเสียง จากนั้นตรวจสอบว่าได้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Use audio features on this device แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ได้เลือกก็ให้คลิกเลือกตัวเลือกนี้ เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม OK จนกระทั่งกลับไปยัง Control Panel ให้ปิดหน้าต่าง Control Panel แล้วทำการบู๊ตเครื่องใหม่
ตรวจสอบว่าคุณติดตั้งอุปกรณ์ Wave Audio แล้วหรือยัง
ให้เข้าไปที่ส่วน Multimedia ใน Control Panel แล้วคลิกที่แท็บ Devices คลิกเครื่องหมาย + หน้าตัวเลือก Media Control Devices ดูให้แน่ใจว่าได้ติดตั้ง Wave Audio Device (Media Control) หรือยังถ้าหากว่ามีการติตตั้งแล้วก็ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Wave Audio Device (Media Control) ดูให้แน่ใจว่าได้เลือกตัวเลือก Use this Media Control device แล้วถ้ายังก็ให้คลิกเลือก คลิกปุ่ม OK แต่ถ้ายังไม่ได้ติดตั้ง Wave Audio Device (Media Control) ก็ให้กลับไปหน้า Control Panel ก่อนแล้วให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Add New Hardware คลิกปุ่ม Next ไปเรื่อย ๆ วินโดวส์ ก็จะถามว่าต้องการที่จะให้วินโดวส์ ทำการหาอุปกรณ์ให้โดยอัตโนมัติหรือไม่ ให้เลือกตัวเลือก No. I want to select….. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป ภายใต้ส่วนของ Hardware types ให้คลิกเลือกตัวเลือก Sound, Video and Game Controllers คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป ในส่วนของ Manufacturers ให้เลือกตัวเลือก Microsoft MCI แล้วให้คลิกเลือกตัวเลือก Wave Audio Device (Media Control) ในส่วนของ Models คลิกปุ่ม Next ต่อมาคลิกปุ่ม Finish ถ้าได้รับแจ้งให้ใส่ซีดีรอมติดตั้งโปรแกรมวินโดวส์ ก็ให้ใส่แผ่นติดตั้งลงไป แล้วคลิกปุ่ม OK เลือกไปที่โฟลเดอร์วินโดวส์ที่อยู่ในแผ่นซีดีรอม จากนั้นก็คลิกปุ่ม OK สุดท้ายวินโดวส์ก็จะทำการติดตั้งไฟล์ เมื่อติดตั้งเสร็จวินโดวส์จะให้ทำการบู๊ตเครื่องใหม่ ก็ให้คลิกปุ่ม Yes ได้ทันที เมื่อเข้าวินโดวส์อีกครั้งก็ให้ลองตรวจสอบดูว่า ปัญหาแก้ไขได้แล้วหรือยัง
ตรวจสอบว่าคุณติดตั้งอุปกรณ์เสียงซีดีแล้วหรือยัง

ขั้นแรกให้เข้าไปในส่วน Multimedia ของ Control Panel แล้วคลิกแท็บ Devices คลิกเครื่องหมาย + หน้าตัวเลือก Media Control Devices
ดูให้แน่ใจว่าการแสดง CD Audio Device (Media Control) ในรายการแล้วหรือยัง ถ้ามีการแสดงอุปกรณ์นี้ในรายการแล้ว ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ตัวเลือก CD Audio Device (Media Control) ดูให้แน่ใจว่าได้เลือก Use this Media Control dอvice แล้วหรือยัง ถ้ายังก็ให้คลิกเลือกตัวเลือก Use this Media Control device จากนั้นคลิกปุ่ม OK จนกระทั่งกลับเข้าสู่ส่วนของ Control Panel อีกครั้ง ก็ให้คุณลองทดสอบดูว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง ในกรณีที่ไม่มีการแสดงอุปกรณ์ CD Audio Device (Media Control) นี้ในรายการ ก็ให้ติดตั้งอุปกรณ์นี้ ในส่วนของ Models ก็ให้เลือกตัวเลือก CD Audio Device (Media Control) แทนเท่านั้นเองครับ


เครดิต : bcoms.